Home
สุขภาพกาย
โพสต์เมื่อ 10 September 2024 6:11 pm
68 views
กินกุ้งบางทีก็แพ้ บางทีก็ไม่แพ้ สรุปเป็นอะไร?

แพ้กุ้ง

หลายคนอาจจะเคยเจอปัญหาในการกินกุ้งที่บางทีก็สามารถกินได้ปกติไม่มีปัญหาอะไร แต่บางทีก็กินแล้วมีอาการผื่นคัน ตาบวมหรือตัวร้อนขึ้นมา ทั้งที่กินมาจากร้านเดียวกัน ความสะอาดเท่ากัน เกิดอะไรขึ้น? มาดูกันได้ในบทความนี้

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้กุ้ง

สารก่อภูมิแพ้หลักในกุ้งคือโปรตีน ซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดของกุ้ง เช่น โทรโปไมโอซิน (tropomyosin) พบได้ในกุ้งเกือบทุกชนิด และฮีโมไซยานิน (hemocyanin) พบได้ในกุ้งแม่น้ำและกุ้งก้ามกราม คนที่แพ้โปรตีนประเภทนี้อาจจะกินกุ้งบางประเภทได้แต่กินกุ้งอีกประเภทไม่ได้ เช่น กินได้แต่กุ้งน้ำจืด กินกุ้งทะเลแล้วแพ้ เป็นต้น

โดยอาการแพ้ที่เกิดขึ้นจะเป็นปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อร่างกายสัมผัสกับโปรตีนแปลกปลอมนี้ร่างกายก็จะตื่นตกใจคิดว่าตนเองกำลังโดนทำร้ายระบบภูมิคุ้มกันจึงสร้างแอนติบอดี IgE ขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับโปรตีนดังกล่าว ซึ่งจะทำให้เกิดปฏิกิริยาอักเสบ บวม คัน และแสดงอาการแพ้ออกมา เนื่องจากแอนติบอดี้ในร่างกายเริ่มนำอาวุธออกมาใช้ต่อสู้จนทำร้ายร่างกายของเราเอง

นอกจากโปรตีนในกุ้งแล้ว ปัจจัยอื่นๆ เช่น สารปรุงแต่งอาหาร สีผสมอาหาร มลพิษที่สะสมอยู่ในเนื้อกุ้งหรือสารกันบูดที่ใช้ในอาหารทะเล ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน

 

อาการแพ้กุ้ง

อาการแพ้กุ้งสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลาย ตั้งแต่ระดับอาการที่ไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต อาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • ผื่นคัน ลมพิษ บวมตามร่างกายและใบหน้า
  • หายใจติดขัด หอบเหนื่อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • ความดันโลหิตต่ำ ช็อก

 

การป้องกันและการรักษา

  • หลีกเลี่ยงการบริโภคกุ้ง วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือการหลีกเลี่ยงการบริโภคกุ้งทุกชนิด รวมถึงอาหารที่ปรุงจากกุ้ง
  • อ่านฉลากอาหาร ตรวจสอบฉลากอาหารให้ละเอียดก่อนรับประทาน เพื่อดูว่ามีส่วนผสมของกุ้งหรือผลิตภัณฑ์จากกุ้งหรือไม่
  • แจ้งให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบ บอกให้แพทย์และพยาบาลทราบว่ามีอาการแพ้กุ้ง เพื่อที่พวกเขาจะได้เตรียมการดูแลในกรณีฉุกเฉิน
  • พกยาแก้แพ้ติดตัว หากมีอาการแพ้เล็กน้อย สามารถรับประทานยาแก้แพ้ได้ แต่หากอาการรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • ฉีดยาอะดรีนาลีน สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้พกยาฉีดอะดรีนาลีนติดตัว เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน

 

ข้อควรระวัง

อาการแพ้อาจรุนแรงขึ้นได้ อาการแพ้กุ้งอาจรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละครั้งที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ดังนั้นถึงแม้จะแพ้แค่บวมคันนิดหน่อยก็ไม่ควรกินกุ้งเป็นประจำเพราะอาจพัฒนาอาการให้รุนแรงขึ้นในภายภาคหน้า ซึ่งการแพ้กุ้งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาเพียงอย่างเดียวคือคอยสังเกตว่าอะไรคือปัจจัยหลักที่ทำให้เราแพ้กุ้งและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้น

ค้นหา

รีวิวหนัง 2021

เว็บไซต์ที่พูดคุย แนะนำ ทั้งภาพยนต์ในประเทศไทยและต่างประเทศ และยังรวมไปถึงซีรี่ฝรั่ง ซีรี่เกาหลี ที่น่ารับชม ก็จะถูกรวบรวมไว้ในเว็บไซต์แห่งนี้ ภาพยนต์ และซีรี่ต่างๆ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สร้างความบันเทิงของเราทุกๆคนที่มีกันมาช้านาน ทั้งเรื่องราวที่อยู่ในจินตนาการ และเรื่องราวที่สร้างจากชีวิตจริง ก็จะถูกถ่ายทอดและนำเสนอมาในภาพยนต์ทั้งสิ้นเพื่อความเข้าใจและรับดูของผู้ชม ทั้งนี้เว็บไซต์  นี้ก็จะนำเรื่องราวของภาพยนต์และซีรี่ต่างๆ นั้นหยิบมาพูดถึงและแนะนำเพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบแล้วไปติดตามรับชมกันต่อนั้นเอง
YOU MAY HAVE MISSED
สุขภาพกาย
อันตรายจากการขับถ่ายไม่เป็นเวลา
18 September 2024 4:30 pm
สุขภาพกาย
ผื่นกลากน้ำนม (Pityriasis Alba)
11 September 2024 4:49 pm
สุขภาพกาย
เคล็ดลับดูแลร่างกายให้สุขภาพดีสำหรับผู้สูงอายุ
13 September 2024 3:16 pm
สุขภาพกาย
4 เทคนิคการเก็บอาหารทะเลให้สดใหม่ เหมือนพึ่งได้มาจากชาวประมง
13 September 2024 4:13 pm