Home
สุขภาพกาย
โพสต์เมื่อ 19 September 2024 12:35 pm
95 views
โรคออฟฟิศซินโดรมบรรเทาได้ ถ้าดูแลอย่างถูกวิธี

เวลาที่เรานั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ มักจะรู้สึกปวดคอ ปวดหลัง หรือปวดตาหนัก ๆ จนทำให้ปวดศีรษะไปด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายว่าเรากำลังเผชิญกับโรคออฟฟิศซินโดรม เพราะฉะนั้นเรามาเช็คอาการและศึกษาวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมกัน

โรค

ลักษณะของโรคออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เกิดจากการทำงานในท่าทางเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ๆ เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดสำหรับผู้ที่ทำงานนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นประจำ แต่ผู้ที่ทำงานประเภทอื่นแล้วต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะยืนหรือเดินก็มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้เช่นกัน

สุขภาพ

อาการของโรคออฟฟิศซินโดรม

  1. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่น ต้นคอ แผ่นหลัง ไหล่ นิ้วมือ หรือบริเวณก้นกบ เป็นต้น ถึงแม้ว่าโรคออฟฟิศซินโดรมจะทำให้มีอาการปวดเฉพาะส่วนก็ตาม แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจุดที่ปวดจริง ๆ นั้นอยู่บริเวณใด โดยอาการปวดมีตั้งแต่ปวดล้า ๆ จนถึงปวดร้าวไปยังบริเวณข้างเคียง หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งปวดเรื้อรังในที่สุด
  2. ปวดศีรษะ เกิดจากการใช้สายตาเพ่งหน้าจอมากเกินไป บางรายอาจจะแค่พักสายตาสักครู่ก็หาย หรืออาจถึงขั้นปวดหนัก ๆ ปวดร้าวไปถึงกระบอกตา รวมถึงปวดไมเกรนอีกด้วย
  3. ระบบประสาทผิดปกติ รู้สึกชาตามปลายมือ กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการถูกกดทับเป็นเวลานาน หรือเกิดความผิดปกติที่ระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น รู้สึกเย็นวูบ เหน็บชา ขนลุก เป็นต้น แต่ถ้าเป็นบริเวณคออาจจะมีอาการตาพร่า หูอื้อ หรือมึนงงร่วมด้วย

สุขภาพ

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นภาวะที่เราสามารถดูแลตัวเองได้ ถ้าไม่ได้มีอาการหนักจนเกินไป เพียงปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

  1. พักบ้างเป็นระยะ ๆ เมื่อต้องนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ควรลุกยืดเส้นยืดสายเพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย หรือยืดเหยียดบนเก้าอี้ทำงานก็ได้
  2. ใส่แว่นตากรองแสงสีฟ้า แสงจากจอคอมพิวเตอร์จะทำให้ปวดตาและปวดศีรษะ ดังนั้นการใส่แว่นตากรองแสงจึงช่วยปกป้องดวงตาจากแสงสีฟ้า แต่ก็ควรพักสายตาอย่างน้อย 2 – 3 นาที ทุกครึ่งชั่วโมง
  3. ออกกำลังกาย ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ลดโอกาสที่เส้นเอ็นและข้อจะติด ทั้งยังช่วยปกป้องจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้ดีเลยทีเดียว
  4. จัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม เช่น วางโต๊ะ เก้าอี้ และคอมพิวเตอร์ให้อยู่ตำแหน่งที่ถูกต้อง รวมทั้งท่าทางที่นั่งทำงานด้วยเช่นกัน
  5. พบแพทย์ ถ้าลองพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปฏิบัติตามคำแนะนำที่กล่าวมาแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคหาสาเหตุที่แน่ชัด

จริง ๆ แล้วโรคออฟฟิศซินโดรมไม่ได้อันตรายมาก หากเราไม่ปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งอาการหนัก แต่ก็สร้างความรำคาญใจให้ไม่น้อย เพราะฉะนั้นควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานให้ถูกต้องก็สามารถช่วยได้พอสมควร

ค้นหา

สุขภาพดีมีได้ทุกวัน

สุขภาพดีเป็นของขวัญล้ำค่าที่เราให้ตัวเองได้ เริ่มต้นวันนี้ด้วยการดูแลตัวเอง เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เรียนรู้สิ่งดีๆได้ที่ The Health Pages ความรู้เรื่องร่างกายที่สามารถ หาได้ทุกเวลาโดยไม่มีค่าบริการ เปิดรับสิ่งดีๆ ทุกก้าวที่คุณใส่ใจตัวเอง คือการสร้างความสุขและพลังในระยะยาว มาร่วมกันสร้างชีวิตที่สดใส และเต็มไปด้วยพลังไปด้วยกัน!
 
YOU MAY HAVE MISSED
ยา
ครีมกันแดดคืออะไร? ทำงานอย่างไร? และเลือก SPF อย่างไรให้เหมาะสม
18 September 2024 10:22 am
สุขภาพจิต
7 วิธีจัดการความเครียด ป้องกันสมองเสื่อมก่อนวัย
7 September 2024 11:21 am
สุขภาพกาย
4 สัญญาณเตือนของอาการที่บ่งบอกว่าตัวเองกำลังจะเป็นไข้หนัก 
27 September 2024 3:08 pm
สุขภาพกาย
เป็นคนแพ้คลอรีนแต่ชอบว่ายน้ำ ทำยังไงดี?
27 September 2024 3:00 pm