Home
สุขภาพกาย
โพสต์เมื่อ 7 September 2024 2:39 pm
67 views
อาการขาอยู่ไม่สุขคืออะไร?

อาการขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome หรือ Willis-Ekbom disease) หมายถึง อาการที่ทำให้อยากขยับขาอยู่เป็นประจำหากอยู่เฉย ๆ อาจรู้สึกเหมือนมีอะไรไต่ขา รู้สึกไม่สบายเนื้อตัวซึ่งหากขยับขาก็จะหายไปได้ชั่วคราว โดยมักเกิดอาการนี้ขึ้นในระหว่างที่กำลังนอนหลับหรือพักผ่อนอยู่จนทำให้การนอนหลับสนิททำได้ยากขึ้น

สาเหตุของอาการขาอยู่ไม่สุข

กว่า 30% ของผู้ป่วยจะเป็นคนที่มาจากครอบครัวที่มีประวัติของอาการเดียวกันอยู่ ซึ่งในกลุ่มผู้มีประวัติของโรคในครอบครัวมักจะพบอาการขาไม่สุขได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 45 ปีขึ้นไป นอกเหนือจากนั้นอาการขาอยู่ไม่สุขยังมีสัมพันธ์กับโรคอื่นจนอาจจะเป็นผลที่มาร่วมกับโรคเหล่านั้นได้ เช่น

  • โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • ภาวะเลือดออกประจำเดือนผิดปกติ
  • การตั้งครรภ์
  • โรคไต
  • โรคเบาหวาน
  • โรคทางสมองและระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน
  • อาการกล้ามเนื้อผิดปกติ
  • ขาดสารอาหารบางชนิด
  • ภาวะอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการขาอยู่ไม่สุขได้ เช่น สูบบุหรี่ อดนอน การใช้ยาบางชนิด ความเครียด แอลกอฮอล์และคาเฟอีน

วิธีการรักษาเพื่อบรรเทาอาการด้วยตนเองที่บ้าน

  • ก่อนนอนให้แช่น้ำอุ่นและนวดบริเวณขา
  • ใช้การประคบอุ่นหรือประคบเย็นเพื่อลดอาการที่แขนและขา
  • เข้านอนให้เป็นเวลาในแต่ละวันและพยายามนอนให้ได้ 7 ชั่วโมงหรือมากกว่า
  • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อลดอาการ แต่ไม่ควรออกกำลังกายในช่วงเย็นและไม่ควรออกกำลังกายอย่างหนัก
  • ลดการบริโภคสารที่กระตุ้นอาการทั้งหลาย เช่น คาเฟอีนที่อาจจะมีใน กาแฟ ชา น้ำอัดลม และเครื่องดื่มช็อกโกแลตนิโคติน แอลกอฮอล์ เป็นต้น โดยควรงดเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์เพื่อดูว่าอาการดีขึ้นหรือไม่

 

ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่?

หากอาการขาอยู่ไม่สุขส่งผลกระทบต่อการนอนหลับจนทำให้ง่วงนอน ไม่มีสมาธิในแต่ละวัน ก็ควรจะเข้าพบแพทย์เพื่อที่จะรับการรักษาและคำแนะนำในการลดผลกระทบของอาการต่อการใช้ชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุด

 

การรักษาอาการขาอยู่ไม่สุขด้วยยาทำได้อย่างไรบ้าง?

หลังจากที่แพทย์วินิจฉัยสาเหตุของอาการแล้วก็อาจจะให้ยาเหล่านี้มาเพื่อช่วยกับอาการขาอยู่ไม่สุข

  • ผลิตภัณฑ์เสริมธาตุเหล็ก แนะนำให้รับประทานพร้อมวิตามินซี
  • ยากันชัก
  • ยาเพื่อเพิ่มสาร dopamine ในระบบประสาท เช่น pramipexole

โดยทั่วไปแล้วการกินยาที่ช่วยเพิ่มสาร dopamine จะช่วยให้อาการดีขึ้นในช่วงแรกแต่ไม่ควรจะกินติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้อาการของโรคแย่ลง

 

หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการนี้อยู่ก็ควรจะสังเกตว่าอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับมากน้อยแค่ไหน หากไม่ได้กระทบมากก็ยังไม่จำเป็นต้องกังวลอะไรมาก แต่หากกระทบมากก็อาจจะเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือลองพบแพทย์ดูเพื่อดำเนินการรักษาโรคต่อไป

ค้นหา

สุขภาพดีมีได้ทุกวัน

สุขภาพดีเป็นของขวัญล้ำค่าที่เราให้ตัวเองได้ เริ่มต้นวันนี้ด้วยการดูแลตัวเอง เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เรียนรู้สิ่งดีๆได้ที่ The Health Pages ความรู้เรื่องร่างกายที่สามารถ หาได้ทุกเวลาโดยไม่มีค่าบริการ เปิดรับสิ่งดีๆ ทุกก้าวที่คุณใส่ใจตัวเอง คือการสร้างความสุขและพลังในระยะยาว มาร่วมกันสร้างชีวิตที่สดใส และเต็มไปด้วยพลังไปด้วยกัน!
 
YOU MAY HAVE MISSED
สุขภาพกาย
กีฬาทางน้ำสำหรับคนรักทะเล (Thalassophilia)
27 September 2024 3:02 pm
สุขภาพกาย
สุขภาพ การกิน เรียนรู้ว่าสิ่งไหนควรลดควรเพิ่ม
11 September 2024 5:14 pm
สุขภาพกาย
การฟื้นฟูผิวหยาบกร้าน ไม่เรียบเนียน ให้กลับมาดูอ่อนเยาว์อีกครั้ง
11 September 2024 3:35 pm
สุขภาพกาย
4 วิธีการจัดการเสื้อผ้าเหม็นอับภายในบ้าน ในช่วงเวลาที่ฝนตก
13 September 2024 4:14 pm