Home
สุขภาพกาย
โพสต์เมื่อ 10 September 2024 4:13 pm
57 views
อายุไม่ถึง 30 ก็เลี่ยงกระดูกพรุนในวัยชราได้

สุขภาพ

โรคกระดูกพรุนคือภาวะที่กระดูกสูญเสียความหนาแน่น ทำให้กระดูกเปราะและหักง่ายขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง แต่รู้ไหม? ว่าโรคนี้ไม่ได้อยู่ดี ๆ ก็เกิดขึ้นทันทีเลยแต่จะค่อย ๆ เกิดขึ้นตั้งแต่เราย่างเข้าวัย 30 ปีก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้นไปเมื่อเราเข้าสู่วัยชราภาพ ดังนั้นการป้องกันโรคกระดูกพรุนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็ควรจะเริ่มตั้งแต่ก่อนอายุ 30 ปี จึงจะเห็นผลได้เป็นอย่างดี

 

ทำไมกระดูกถึงพรุน?

กระดูกจะประกอบด้วยเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) ซึ่งในช่วงวัยเด็กร่างกายของเราจะสร้างเซลล์สร้างกระดูกมากกว่าเซลล์สลายกระดูก (Osteoclast) ซึ่งทำหน้าที่สลายกระดูกเก่าที่เสื่อมกลับคืนสู่ร่างกายและเมื่อถึงอายุประมาณ 25-30 ปี กระดูกก็จะแข็งแรงที่สุดในช่วงชีวิตของเรา

แต่หลังจากนั้น การสลายตัวของกระดูกจะเริ่มเกิดมากกว่าการสร้างจนทำให้กระดูกอาจเกิดช่องว่างความพรุนขึ้นมาได้จนมีความเปราะบางเกิดขึ้น โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการรักษามวลกระดูก นอกจากนี้ปัจจัยอื่น ๆ อย่าง การขาดการออกกำลังกาย โรคประจำตัว และการขาดสารอาหาร ก็มีส่วนที่ทำให้กระดูกเปราะบางลง

 

อันตรายของโรคกระดูกพรุน

ภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัวที่สุดของโรคกระดูกพรุนคือกระดูกหัก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก หรือข้อมือ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความพิการ ปวดเรื้อรัง และลดคุณภาพชีวิตลงอย่างมากและในบางรายก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ป้องกันได้อย่างไร?

การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุดควรเริ่มต้นตั้งแต่ยังวัยหนุ่ม โดยเน้นที่การสร้างกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่เด็กและดูแลรักษามวลกระดูกให้คงที่เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนและสูงอายุ วิธีการป้องกันมี ดังนี้

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก เช่น เดิน วิ่ง หรือยกน้ำหนัก ช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูก
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียว และรับประทานอาหารที่มีวิตามินดี ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียม
  • ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดการบริโภคน้ำตาลและไขมัน และรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อติดตามความหนาแน่นของกระดูก และปรึกษาแพทย์หากพบความผิดปกติ
  • ปรึกษาแพทย์ หากคุณมีปัจจัยเสี่ยง เช่น วัยหมดประจำเดือน สูบบุหรี่ โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็งกระดูก ใช้ยาสเตียรอยด์บางชนิดที่เร่งการสลายของกระดูก หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม
  • สร้างความเข้าใจ เรียนรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนให้มากขึ้น เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพตัวเองได้อย่างถูกต้อง

ค้นหา

สุขภาพดีมีได้ทุกวัน

สุขภาพดีเป็นของขวัญล้ำค่าที่เราให้ตัวเองได้ เริ่มต้นวันนี้ด้วยการดูแลตัวเอง เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เรียนรู้สิ่งดีๆได้ที่ The Health Pages ความรู้เรื่องร่างกายที่สามารถ หาได้ทุกเวลาโดยไม่มีค่าบริการ เปิดรับสิ่งดีๆ ทุกก้าวที่คุณใส่ใจตัวเอง คือการสร้างความสุขและพลังในระยะยาว มาร่วมกันสร้างชีวิตที่สดใส และเต็มไปด้วยพลังไปด้วยกัน!
 
YOU MAY HAVE MISSED
สุขภาพกาย
กีฬาทางน้ำสำหรับคนรักทะเล (Thalassophilia)
27 September 2024 3:02 pm
สุขภาพจิต
7 วิธีจัดการความเครียด ป้องกันสมองเสื่อมก่อนวัย
7 September 2024 11:21 am
สุขภาพกาย
นอนกรนเสียงดังภัยเงียบรบกวน คนรอบข้าง คุณแก้ได้ด้วยตัวเอง
27 September 2024 2:51 pm
สุขภาพกาย
การเล่นฮูล่าฮูบเพื่อลดน้ำหนักออกกำลังกายแบบง่าย
6 November 2024 11:00 am