Home |
1. เลือกกินอาหารที่มีประโยชนผู้สูงอาย
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ร่างกายต้องการสารอาหารน้อยกว่าวัยหนุ่มสาว และไม่ได้ต้องการสารอาหารมาใช้ในการทำกิจกรรมมากมายนัก การรับประทานอาหารจึงควรลดอาหารทอด แป้ง น้ำตาล ไขมัน และอาหารรสจัดอย่างเช่นเค็มจัดหรือหวานจัด แต่ควรเน้นโปรตีนจากปลา นมถั่วเหลือง รวมทั้งผักผลไม้และธัญพืช โดยใช้วิธีปรุงสุกด้วยการนึ่ง อบ และต้ม นอกจากนี้ควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
2. หมั่นออกกำลังกาย
ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 – 4 ครั้ง เริ่มจากการอบอุ่นร่างกายด้วยท่าเบา ๆ แล้วจึงค่อยเพิ่มความหนักตามความเหมาะสมของแต่ละคนอย่างต่อเนื่องจนครบตามเวลา ครั้งละ 30 – 40 นาที จากนั้นลดลงช้า ๆ จนหยุด จะช่วยทำให้หัวใจและหลอดเลือดหัวใจแข็งแรง
3. ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
ผู้สูงอายุไม่ควรมีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรือเป็นโรคอ้วน เพราะจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันสูง โรคเบาหวาน และโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งการควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสมสามารถทำได้โดยเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย
4. ทำกิจกรรมที่เหมาะกับวัย
ควรมีงานอดิเรกที่ชื่นชอบโดยไม่กระทบกับโรคประจำตัวหรือชีวิตประจำวันจนเสี่ยงต่อการเกิดโรคตามมาได้ อีกทั้งการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุก็ไม่ควรมองข้ามด้วยเช่นกัน ดังนั้นวัยนี้ต้องระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุในบ้านอย่างเช่นหกล้ม จึงควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ด้วย
5. จัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้น่าอยู่
ควรจัดบริเวณรอบ ๆ บ้านให้มีลักษณะโปร่งโล่ง ไม่รก รักษาความสะอาดภายในบ้าน อากาศถ่ายเทสะดวก และกำจัดสิ่งสกปรกเพื่อลดเชื้อโรค
6. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่
แอลกอฮอล์และบุหรี่เป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ หากมีโรคประจำตัวก็มักจะเป็นตัวเร่งทำให้โรคกำเริบหรือมีอาการหนักได้เร็วขึ้น
ผู้สูงอายุไม่ควรละเลยการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจหาโรคหรืออาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ หากพบจะได้รีบพบแพทย์รักษาได้ทันท่วงที อีกทั้งไม่ควรเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป แต่ควรทำจิตใจให้ผ่องใส หมั่นศึกษาธรรมะเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของตนเองและผู้อื่น จึงจะจัดได้ว่าเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณค่าและมีร่างกายแข็งแรง อายุยืน อยู่กับลูกหลานที่เรารักได้นาน ๆ