Home
สุขภาพกาย
โพสต์เมื่อ 7 September 2024 2:39 pm
58 views
อาการขาอยู่ไม่สุขคืออะไร?

อาการขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome หรือ Willis-Ekbom disease) หมายถึง อาการที่ทำให้อยากขยับขาอยู่เป็นประจำหากอยู่เฉย ๆ อาจรู้สึกเหมือนมีอะไรไต่ขา รู้สึกไม่สบายเนื้อตัวซึ่งหากขยับขาก็จะหายไปได้ชั่วคราว โดยมักเกิดอาการนี้ขึ้นในระหว่างที่กำลังนอนหลับหรือพักผ่อนอยู่จนทำให้การนอนหลับสนิททำได้ยากขึ้น

สาเหตุของอาการขาอยู่ไม่สุข

กว่า 30% ของผู้ป่วยจะเป็นคนที่มาจากครอบครัวที่มีประวัติของอาการเดียวกันอยู่ ซึ่งในกลุ่มผู้มีประวัติของโรคในครอบครัวมักจะพบอาการขาไม่สุขได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 45 ปีขึ้นไป นอกเหนือจากนั้นอาการขาอยู่ไม่สุขยังมีสัมพันธ์กับโรคอื่นจนอาจจะเป็นผลที่มาร่วมกับโรคเหล่านั้นได้ เช่น

  • โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • ภาวะเลือดออกประจำเดือนผิดปกติ
  • การตั้งครรภ์
  • โรคไต
  • โรคเบาหวาน
  • โรคทางสมองและระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน
  • อาการกล้ามเนื้อผิดปกติ
  • ขาดสารอาหารบางชนิด
  • ภาวะอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการขาอยู่ไม่สุขได้ เช่น สูบบุหรี่ อดนอน การใช้ยาบางชนิด ความเครียด แอลกอฮอล์และคาเฟอีน

วิธีการรักษาเพื่อบรรเทาอาการด้วยตนเองที่บ้าน

  • ก่อนนอนให้แช่น้ำอุ่นและนวดบริเวณขา
  • ใช้การประคบอุ่นหรือประคบเย็นเพื่อลดอาการที่แขนและขา
  • เข้านอนให้เป็นเวลาในแต่ละวันและพยายามนอนให้ได้ 7 ชั่วโมงหรือมากกว่า
  • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อลดอาการ แต่ไม่ควรออกกำลังกายในช่วงเย็นและไม่ควรออกกำลังกายอย่างหนัก
  • ลดการบริโภคสารที่กระตุ้นอาการทั้งหลาย เช่น คาเฟอีนที่อาจจะมีใน กาแฟ ชา น้ำอัดลม และเครื่องดื่มช็อกโกแลตนิโคติน แอลกอฮอล์ เป็นต้น โดยควรงดเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์เพื่อดูว่าอาการดีขึ้นหรือไม่

 

ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่?

หากอาการขาอยู่ไม่สุขส่งผลกระทบต่อการนอนหลับจนทำให้ง่วงนอน ไม่มีสมาธิในแต่ละวัน ก็ควรจะเข้าพบแพทย์เพื่อที่จะรับการรักษาและคำแนะนำในการลดผลกระทบของอาการต่อการใช้ชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุด

 

การรักษาอาการขาอยู่ไม่สุขด้วยยาทำได้อย่างไรบ้าง?

หลังจากที่แพทย์วินิจฉัยสาเหตุของอาการแล้วก็อาจจะให้ยาเหล่านี้มาเพื่อช่วยกับอาการขาอยู่ไม่สุข

  • ผลิตภัณฑ์เสริมธาตุเหล็ก แนะนำให้รับประทานพร้อมวิตามินซี
  • ยากันชัก
  • ยาเพื่อเพิ่มสาร dopamine ในระบบประสาท เช่น pramipexole

โดยทั่วไปแล้วการกินยาที่ช่วยเพิ่มสาร dopamine จะช่วยให้อาการดีขึ้นในช่วงแรกแต่ไม่ควรจะกินติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้อาการของโรคแย่ลง

 

หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการนี้อยู่ก็ควรจะสังเกตว่าอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับมากน้อยแค่ไหน หากไม่ได้กระทบมากก็ยังไม่จำเป็นต้องกังวลอะไรมาก แต่หากกระทบมากก็อาจจะเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือลองพบแพทย์ดูเพื่อดำเนินการรักษาโรคต่อไป

ค้นหา

สุขภาพดีมีได้ทุกวัน

สุขภาพดีเป็นของขวัญล้ำค่าที่เราให้ตัวเองได้ เริ่มต้นวันนี้ด้วยการดูแลตัวเอง เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เรียนรู้สิ่งดีๆได้ที่ The Health Pages ความรู้เรื่องร่างกายที่สามารถ หาได้ทุกเวลาโดยไม่มีค่าบริการ เปิดรับสิ่งดีๆ ทุกก้าวที่คุณใส่ใจตัวเอง คือการสร้างความสุขและพลังในระยะยาว มาร่วมกันสร้างชีวิตที่สดใส และเต็มไปด้วยพลังไปด้วยกัน!
 
YOU MAY HAVE MISSED
สุขภาพกาย
เอ็นอักเสบคืออะไร? อาการ สาเหตุและวิธีรักษา
16 September 2024 11:35 am
สุขภาพกาย
เล็บเหลือง สาเหตุและการรักษา
17 September 2024 11:45 am
สุขภาพกาย
วิธีการดูแลสุขภาพความงามของแต่ละวัยอย่างเหมาะสม
11 September 2024 3:53 pm
สุขภาพกาย
7 ประโยชน์ของฝรั่ง ผลไม้อร่อย ประโยชน์เยอะ
11 September 2024 5:19 pm