Home
สุขภาพกาย
โพสต์เมื่อ 10 September 2024 4:13 pm
31 views
อายุไม่ถึง 30 ก็เลี่ยงกระดูกพรุนในวัยชราได้

สุขภาพ

โรคกระดูกพรุนคือภาวะที่กระดูกสูญเสียความหนาแน่น ทำให้กระดูกเปราะและหักง่ายขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง แต่รู้ไหม? ว่าโรคนี้ไม่ได้อยู่ดี ๆ ก็เกิดขึ้นทันทีเลยแต่จะค่อย ๆ เกิดขึ้นตั้งแต่เราย่างเข้าวัย 30 ปีก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้นไปเมื่อเราเข้าสู่วัยชราภาพ ดังนั้นการป้องกันโรคกระดูกพรุนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็ควรจะเริ่มตั้งแต่ก่อนอายุ 30 ปี จึงจะเห็นผลได้เป็นอย่างดี

 

ทำไมกระดูกถึงพรุน?

กระดูกจะประกอบด้วยเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) ซึ่งในช่วงวัยเด็กร่างกายของเราจะสร้างเซลล์สร้างกระดูกมากกว่าเซลล์สลายกระดูก (Osteoclast) ซึ่งทำหน้าที่สลายกระดูกเก่าที่เสื่อมกลับคืนสู่ร่างกายและเมื่อถึงอายุประมาณ 25-30 ปี กระดูกก็จะแข็งแรงที่สุดในช่วงชีวิตของเรา

แต่หลังจากนั้น การสลายตัวของกระดูกจะเริ่มเกิดมากกว่าการสร้างจนทำให้กระดูกอาจเกิดช่องว่างความพรุนขึ้นมาได้จนมีความเปราะบางเกิดขึ้น โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการรักษามวลกระดูก นอกจากนี้ปัจจัยอื่น ๆ อย่าง การขาดการออกกำลังกาย โรคประจำตัว และการขาดสารอาหาร ก็มีส่วนที่ทำให้กระดูกเปราะบางลง

 

อันตรายของโรคกระดูกพรุน

ภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัวที่สุดของโรคกระดูกพรุนคือกระดูกหัก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก หรือข้อมือ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความพิการ ปวดเรื้อรัง และลดคุณภาพชีวิตลงอย่างมากและในบางรายก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ป้องกันได้อย่างไร?

การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุดควรเริ่มต้นตั้งแต่ยังวัยหนุ่ม โดยเน้นที่การสร้างกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่เด็กและดูแลรักษามวลกระดูกให้คงที่เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนและสูงอายุ วิธีการป้องกันมี ดังนี้

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก เช่น เดิน วิ่ง หรือยกน้ำหนัก ช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูก
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียว และรับประทานอาหารที่มีวิตามินดี ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียม
  • ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดการบริโภคน้ำตาลและไขมัน และรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อติดตามความหนาแน่นของกระดูก และปรึกษาแพทย์หากพบความผิดปกติ
  • ปรึกษาแพทย์ หากคุณมีปัจจัยเสี่ยง เช่น วัยหมดประจำเดือน สูบบุหรี่ โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็งกระดูก ใช้ยาสเตียรอยด์บางชนิดที่เร่งการสลายของกระดูก หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม
  • สร้างความเข้าใจ เรียนรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนให้มากขึ้น เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพตัวเองได้อย่างถูกต้อง

ค้นหา

รีวิวหนัง 2021

เว็บไซต์ที่พูดคุย แนะนำ ทั้งภาพยนต์ในประเทศไทยและต่างประเทศ และยังรวมไปถึงซีรี่ฝรั่ง ซีรี่เกาหลี ที่น่ารับชม ก็จะถูกรวบรวมไว้ในเว็บไซต์แห่งนี้ ภาพยนต์ และซีรี่ต่างๆ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สร้างความบันเทิงของเราทุกๆคนที่มีกันมาช้านาน ทั้งเรื่องราวที่อยู่ในจินตนาการ และเรื่องราวที่สร้างจากชีวิตจริง ก็จะถูกถ่ายทอดและนำเสนอมาในภาพยนต์ทั้งสิ้นเพื่อความเข้าใจและรับดูของผู้ชม ทั้งนี้เว็บไซต์  นี้ก็จะนำเรื่องราวของภาพยนต์และซีรี่ต่างๆ นั้นหยิบมาพูดถึงและแนะนำเพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบแล้วไปติดตามรับชมกันต่อนั้นเอง
YOU MAY HAVE MISSED
สุขภาพจิต
การดูแลรักษาสุขภาพจิต Sound Healing กำลังได้รับความนิยม
17 September 2024 11:01 am
สุขภาพกาย
เรื่องผีศูนย์ปฏิบัติธรรมสุดสยอง
17 September 2024 11:12 am
สุขภาพกาย
สุขภาพ
11 September 2024 4:33 pm
สุขภาพกาย
อาการขาอยู่ไม่สุขคืออะไร?
7 September 2024 2:39 pm