Home |
หลายคนอาจจะเคยเจอปัญหาในการกินกุ้งที่บางทีก็สามารถกินได้ปกติไม่มีปัญหาอะไร แต่บางทีก็กินแล้วมีอาการผื่นคัน ตาบวมหรือตัวร้อนขึ้นมา ทั้งที่กินมาจากร้านเดียวกัน ความสะอาดเท่ากัน เกิดอะไรขึ้น? มาดูกันได้ในบทความนี้
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้กุ้ง
สารก่อภูมิแพ้หลักในกุ้งคือโปรตีน ซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดของกุ้ง เช่น โทรโปไมโอซิน (tropomyosin) พบได้ในกุ้งเกือบทุกชนิด และฮีโมไซยานิน (hemocyanin) พบได้ในกุ้งแม่น้ำและกุ้งก้ามกราม คนที่แพ้โปรตีนประเภทนี้อาจจะกินกุ้งบางประเภทได้แต่กินกุ้งอีกประเภทไม่ได้ เช่น กินได้แต่กุ้งน้ำจืด กินกุ้งทะเลแล้วแพ้ เป็นต้น
โดยอาการแพ้ที่เกิดขึ้นจะเป็นปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อร่างกายสัมผัสกับโปรตีนแปลกปลอมนี้ร่างกายก็จะตื่นตกใจคิดว่าตนเองกำลังโดนทำร้ายระบบภูมิคุ้มกันจึงสร้างแอนติบอดี IgE ขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับโปรตีนดังกล่าว ซึ่งจะทำให้เกิดปฏิกิริยาอักเสบ บวม คัน และแสดงอาการแพ้ออกมา เนื่องจากแอนติบอดี้ในร่างกายเริ่มนำอาวุธออกมาใช้ต่อสู้จนทำร้ายร่างกายของเราเอง
นอกจากโปรตีนในกุ้งแล้ว ปัจจัยอื่นๆ เช่น สารปรุงแต่งอาหาร สีผสมอาหาร มลพิษที่สะสมอยู่ในเนื้อกุ้งหรือสารกันบูดที่ใช้ในอาหารทะเล ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน
อาการแพ้กุ้ง
อาการแพ้กุ้งสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลาย ตั้งแต่ระดับอาการที่ไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต อาการที่พบบ่อย ได้แก่
การป้องกันและการรักษา
ข้อควรระวัง
อาการแพ้อาจรุนแรงขึ้นได้ อาการแพ้กุ้งอาจรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละครั้งที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ดังนั้นถึงแม้จะแพ้แค่บวมคันนิดหน่อยก็ไม่ควรกินกุ้งเป็นประจำเพราะอาจพัฒนาอาการให้รุนแรงขึ้นในภายภาคหน้า ซึ่งการแพ้กุ้งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาเพียงอย่างเดียวคือคอยสังเกตว่าอะไรคือปัจจัยหลักที่ทำให้เราแพ้กุ้งและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้น